ทำความรู้จักกับ E-Commerce และ E-payment

E-Commerce (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

ในมนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก
เพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน การเดินทาง และยังสามารถประหยัดทรัพยากรและเวลาได้มากยิ่งขึ้น
E-commerce จึงมีบทบาทสำคัญอีกช่องทาง
ที่ผู้ค้าและผู้บริโภคไม่ต้องเดินไปเลือกซื้อสินค้าตามร้านจำหน่ายแล้ว
แต่สามารถเข้าถึงสินค้าได้ผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่ออนไลน์ที่เป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง
และมีกระบวนการจัดส่งอื่นรองรับ ผู้ค้าสามารถลดต้นทุนในเรื่องของหน้าร้าน
ผู้บริโภคสามารถลดขั้นตอนการเดินทาง

E-Commerce สามารถจัดประเภทได้ดังนี้
  

1. ผู้ประกอบการ กับ
ผู้บริโภค (
Business to
Consumer – B2C)
การค้าระหว่างผู้ค้ากับผู้บริโภค  โดยตรง

2. ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B)การค้าระหว่างผู้ค้ากับ  ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการ
ซึ่งมีลักษณะเป็นการขายส่ง

3. ผู้บริโภค กับ
ผู้บริโภค (
Consumer to
Consumer – C2C)
การซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่าง  ผู้บริโภคกับผู้บริโภค
ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าในกลุ่มของผู้บิรโภคที่สนใจในสินค้าเดียวกัน  อาจแลกเลปี่ยนกันเอง หรือขายต่อแบบมือสอง 

4. ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)  การประกอบธุรกิจระหว่างเอกชนกับภาครัฐ ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะของการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
เพื่อลดขั้นตอน หลาย  หล่วยงานจะมีการนำประกาศไปเผยแพร่ในเว็บไซต์
ทำให้เกิดการติดต่อกันระหว่างเอกชน  กับหน่วนงานฯ

5. ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)การอำนวยความสะดวกของหลาย หน่วยงานรัฐต่อประชาชน
มักไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า เช่น การคำนวนภาษีของสรรพากร


E-payment 
(การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์)

ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ช่องทางใหม่สำหรับธุรกรรมทางการเงิน
หลังจากการเกิดขึ้นของยุคการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ
E-commerce แล้ว E-payment เป็นอีกช่องทางที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้ง่ายมากขึ้น
โดยเป็นการทำธุระกรรมทางการเงินผ่าน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์
แทนการจ่ายเป็นเงินสด E-payment มีช่องทางดังนี้

1. 
Internet
banking คือการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ซื้อไปยังผู้ค้า
ลักษณะเหมือนการโอนผ่าน ATM
แต่สามารถทำผ่านช่องทางอย่างแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือเว็บไซต์ของธนาคาร

2. 
ชำระผ่านเว็บไซต์ของผู้ค้าทางบัตรเครดิต
ในบางเว็บไซต์สามารถชำระได้ด้วยการระบุข้อมูลบนบัตรเครดิตและจำนวนเงินเพื่อชำระแก้ผู้ค้าได้

3. 
ชำระผ่านเงินออนไลน์
E-money โดยผู้ค้าจะเปิดบัญชีกับผู้ให้บริการเงินออนไลน์
ผู้ซื้อสามารถเติมเงินและใช้จ่ายผ่านบัตรเงินสดนั้นได้

เห็นได้ว่าเทคโนโลยี E-commerce และ E-payment เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐของไทยเป็นอย่างมาก
ทั้งทำให้เกิดการเข้าถึงการจำหน่ายสินค้าและบริการสะดวกขึ้น
ลดขั้นตอนในการเดินทางได้มากยิ่งขึ้น