สังคมผู้สูงอายุไทย อนาคตเชิงนโยบายและความเท่าเทียม
ข่าวการที่รัฐบาลมีการพิจารณาตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ
600
บาทต่อเดือนโดยเน้นกลุ่มผู้ที่มีรายได้เกิน 9,000 บาทหรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาท ทั้งนี้เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุได้รับ 600
บาทต่อเดือนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการดูแลและส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ซึ่งได้เริ่มการสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดตั้งแต่ปีงบประมาณพ.ศ.2555 เป็นต้นมา
ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
(aging Society) มาตั้งแต่ปี 2547 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้จัดทำรายงาน “การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของไทย
พ.ศ. 2553-2583”พบว่าในปี 2553
ประเทศไทยมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป
คิดเป็นสัดส่วน 9% ของประชากรทั้งหมดและจะเพิ่มขึ้นเป็น 14% ในปี 2564 และเป็น 20% ในปี 2574
ถ้าแปลงเป็นตัวเลขให้ดูง่ายขึ้นก็คือในปี
2553 มีประชากรอายุ 60 ปี จำนวน 8.4 ล้านคน เมื่อถึงปี 2583
จะมีจำนวนประชากรกลุ่มนี้ 20.5 ล้านคน
ประชากรอายุ 80 ปีขึ้นไป
ในปี 2553 มีจำนวนประมาณ 1
ล้านคนเมื่อถึงปี 2583 จะอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านคน หรือแปลว่าในประชากรทุกๆ
4 คนจะมีผู้สูงอายุ 1 คน
ขณะที่การเพิ่มของอัตราประชากรของไทยที่เคยสูงถึง
3%ต่อปี ปัจจุบันลดลงอยู่ที่ 0.5% ต่อปีและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องส่วนจำนวนการมีบุตรต่อสตรีคนหนึ่งซึ่งอดีตสูงถึง
5 คนได้ลดลงเหลือ 1.6 คนในปี 2553และมีแนวโน้มว่าจะอยู่ที่ 1.3 คนในปี 2583
จากตัวเลขเหล่านี้สะท้อนว่าอัตราการเกิดสวนทางกับอัตราของผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น
แต่เด็กรุ่นใหม่ในอนาคตจะมีจำนวนที่เกิดออกมาน้อยลง
นี่คือแนวโน้มที่เกิดขึ้นในทุกประเทศอย่างต่อเนื่องโดยประเทศไทยจัดเป็นอันดับ
2 รองจากสิงคโปร์สำหรับในภูมิภาคนี้
ด้วยสาเหตุที่สำคัญมาจากกการควบคุมการเกิดของประชากรและการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่และการมีสังคมผู้อายุเช่นนี้สิ่งที่สังคมต้องการอยากเห็นนั่นคือ
ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีระบบสวัสดิการที่ดีมารองรับผู้สูงอายุเหล่านี้
ที่ผ่านมารัฐบาลสมัยน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้ขับเคลื่อนนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 3 ด้านด้วยกันคือ 1) อยู่อย่างสบาย โดยการปรับอัตราเบี้ยจ้างรายเดือนหรือเบี้ยยังชีพเป็นขั้นบันไดซึ่งผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่
60-69 ปีจะได้เบี้ยยังชีพ 600 บาท ขึ้นมาเป็น 700,800 และ 1,000 บาทเมื่ออายุ 90 ปีขึ้นไปตามลำดับ ควบคู่กับนโยบายการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน
ซึ่งผู้สูงอายุมีโอกาสต้องได้รับการดูแลในรูปผู้ป่วยฉุกเฉินจำนวนมาก
ภายใต้นโยบายส่งเสริมสุขภาพ 30 บาท
ตลอดจนการสนับสนุนการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น
2) สร้างเวทีให้ผู้สูงอายุเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับคนรุ่นใหม่
รวมไปถึงการขยายอาชีพที่บ้าน การสร้างภูมิปัญญาและถ่ายทอดความรู้แก่คนรุ่นต่อไป 3)
ความสุขกายและสุขใจมีการตั้งชมรมผู้สูงอายุชุมชนขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุย
และทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีกิจกรรมที่เรียกว่าคน 3 วัยใจตรงกัน คือผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน และลูกหลาน มาร่วมกิจกรรมเพื่อให้เกิดความอบอุ่นขึ้นทั้งในครอบครัวและชุมชน
ในอนาคตนโยบายของรัฐบาลต่อผู้สูงอายุทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม สวัสดิการ การศึกษา
จะต้องได้รับการสนใจมากขึ้นด้วยประเทศที่ประสบปัญหาเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือเป็นประเทศที่รวยแล้ว
ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้สูงมีสวัสดิการที่มีคุณภาพรองรับตลอดจนโครงสร้างสังคมเอื้ออำนวยให้ผู้สูงอายุสามารถเพิ่มทักษะ
หรือดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพได้
แต่สำหรับประเทศไทยที่ยังไม่เข้าสู่ประเทศที่มีรายได้สูง
ทำให้ผู้สูงอายุในปัจจุบันและในอนาคตประสบปัญหา “แก่ก่อนรวย” ที่กลายเป็นความท้าทายเชิงนโยบายต่อรัฐบาลว่าจะดำเนินการและมีทิศทางต่อโครงสร้างประชากรเช่นนี้อย่างไร
เพราะโครงสร้างประชากรที่เกิดขึ้นนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว
ล่าสุดมีข่าวที่น่าจะสอดคล้องกับประเด็นสังคมผู้สูงอายุนั่นคือ “สพฐ.สรุปรับนร.เหลือที่นั่งกว่า 8.6 แสนคน” โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หรือ สพฐ. ได้กำหนดแผนการรับนักเรียนประจำปี 2559 ไว้ 1.96 ล้านคน ปรากฏว่ารับนักเรียนไปได้ 1.09 ล้านคน เหลือที่นั่งว่างไว้ถึง 8.69 แสนคนโดยเฉพาะอนุบาล 1 ที่มีแผนรับ 4.2 แสนคนกลับรับนร.ได้เพียง 1.2 แสนคน มีที่ว่างเหลือ 3 แสนคนสะท้อนถึงภาพที่เป็นจริงของอัตราเกิดที่ลดลงอย่างชัดเจน
ซึ่งอัตราการเกิด กับภาวะผู้สูงวัยเป้นตัวสะท้อนถึงอนาคตของโครงสร้างเศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองไทยในอนาคตอย่างน้อยอีก 20 ปีข้างหน้า
ความท้ายทายนี้เป็นโจทย์ใหญ่สำหรับรัฐบาลทุกรัฐบาล
ซึ่งคงไม่อาจแก้ไขได้เพียงการตัดลดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600
บาทที่เป็นเบี้ยสำหรับผู้สูงอายุที่ทุกคนสามารถรับได้ไม่ว่าจะมีอาชีพใด
รายได้เท่าใดหรือมีสินทรัพย์เท่าใด แม้ว่าจะมีการตั้งข้อสังเกตว่าควรให้เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเท่านั้นที่มีการออกเงื่อนไขว่ามีรายได้ไม่เกิน
9,000
บาทและมีสินทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท
นับว่าสะท้อนถึงความคิดพื้นฐานเรื่องความเสมอภาคต่อคนทุกคนในสังคมไม่ว่าจะยากดีมีจนเช่นไรควรได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมกัน
ซึ่งคงต้องคำถามกับประเด็นเหล่านี้ให้จงหนัก
อ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.)
Thaipublica
กรุงเทพธุรกิจ