“เพื่อไทย” เรียกร้องให้ “วิษณุ” เสนอใช้ม.44 แก้ปัญหาคดีฟิลลิปมอร์ริส

  “เรื่อง
การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม กรณี การหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ของบริษัท ฟิลลิป
มอร์ลิส จำนวน
68,000.-
ล้านบาท”

  ก่อนอื่นผมขอลำดับช่วงเวลาของคดีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่
จำนวน
68,000.-ลบ.

28 ก.ค.2546-20
ก.พ.2550 -บริษัท ฟิลลิป มอร์ลิส ไทยแลนด์ ลิมิเตด กระทำความผิดหลีกเลี่ยง

  ภาษี มูลค่า
68,000.-ลบ.

3 ส.ค. 2549  -กรมสอบสวนคดีพิเศษ
(พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์) เป็นอธิบดีฯ รับ

  เป็นคดีพิเศษ

2 ก.ย. 2552  -กรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่งฟ้องต่ออัยการฯ
(นายพีระพันธ์ สาลีรัฐ

  วิภาค)ป็น
รมว.ยุติธรรม และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นอธิบดี
DSI

3 ต.ค. 2556  -อสส. มีคำสั่งฟ้องเด็จขาด
ให้ฟ้องฯ

  -เรื่องนี้ ผ่านมาหลายรัฐบาลมาก คือ

1.รัฐบาลทหารฯ สมัย
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

2.รัฐบาล ปชป. สมัย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

3.รัฐบาล เพิ่อไทย
สมัย นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

  แสดงให้เห็นว่า ได้มีการพิจารณา
ของละเอียด รอบคอบแล้ว และประเด็นต่างๆ ที่ บ.ฟิลลิปฯ ร้องขอความเป็นธรรม เรื่อง
ประเทศฟิลิปปินส์ และ
WTO ก็ได้มีการพิจารณาไปหมดแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อย่างใด

  ตามที่ ท่านนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา) ได้ให้นโยบายต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และได้แสดงออกถึงการบังคับใช้กฎหมาย
และดำเนินการให้ทุกฝ่ายที่ถูกกล่าวหาในคดีต่างๆ “เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม”
เพื่อให้พิจารณาว่า ถูก/ผิด ซึ่งในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะว่าไปแล้ว มี 2
ขั้นตอน คือ

1.ขั้นตอนการสอบสวน/  ซึ่งจะมีการถ่วงดุล
อำนาจกันระหว่างพนักงานสอบสวน และ พนักงานอัยการ ว่า ผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาใด
จะนำคดีไปสู่ศาล ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการยุติธรรม เพื่อตัดสินว่า
ถูก/ผิด แต่ในการสอบสวน ให้มีการถ่วงดุล ซึ่งกันและกัน ระหว่างพนักงานสอบสวน และ
พนักงานอัยการ ให้มีความเห็นแย้งแตกต่างกันได้ก่อนที่จะนำเรื่องไปสู่ศาล
ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการยุติธรรม

2.ขั้นตอน –ศาล

  -เหตุที่ผมต้องทำความเข้าใจต่อสื่อมวลชน
และ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้เข้าใจ คำว่า “กระบวนการยุติธรรม” คืออะไร?
เพราะในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ตั้งแต่

  พนักงานสอบสวน à อัยการ à ศาล

ผู้รับผิดชอบจะมีอิสระในการสั่งคดีฯ
ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ฝ่ายบริหารไม่มีขั้นตอนใด ตามกฎหมายในเส้นทางเดินของกระบวนการยุติธรรม
ให้ฝ่ายบริหารเข้าไปแทรกแซงหรือเกี่ยวข้อง สั่งการให้พนักงานสอบสวน , อัยการ,
ขาดความเป็นอิสะในการพิจารณาสั่งคดี และการปฎิบัติหน้าที่เป็นไปโดยชอบทางกฎหมาย

  ปัญหาของการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ ของ
บ.ฟิลลิป มอร์ลิส จำนวน 68,000.-ลบ.

ที่ผมจะแถลงในวันนี้
มีอยู่ 3.-เรื่อง คือ

1.การก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

2.ผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ที่กำลังจะสูญเสียจากเงินภาษีฯ  จำนวน
68,000.-ลบ.

3.บุหรี่
เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และ ทำลายอนาคต ของเยาวชน

  1.การก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
จาก พรบ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553

มาตรา-8
การปฎิบัติหน้าที่ขององค์กรอัยการต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม
/ การทำหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
และตาม ม.14

  และ มาตรา -21
พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาคดีฯ และการปฎิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
และเป็นไปตามกฎหมายโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่า
การฟ้องคดีอาญา จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ ให้เสนอต่อ
อสส. และ อสส.มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีฯ ได้

  กรณี ภาษีบุหรี่ 68,000.-ลบ. ของ
บ.ฟิลลิป มอร์ลิส / อสส. มีความเห็นเด็ดขาด สั่งฟ้องคดีฯ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 3
ต.ค.2556 และก่อนที่ อสส.จะสั่งฟ้องคดีฯ บ.ฟิลลิปฯ ก็ได้ขอให้ทบทวน
และขอความเป็นธรรมต่างๆ อสส.ได้พิจารณาเสร็จสิ้นกระบวนการต่างๆแล้ว
อสส.เห็นว่าทำความผิดกฎหมายประเทศไทย  พร้อมพยานหลักฐานต่างๆ
อสส.จึงสั่งฟ้องคดีฯ มีการนัดหมายเพื่อให้ผู้ต้องหามาพบอัยการ ,
อัยการจะต้องนำตัวผู้ต้องหาไปด้วย หากขัดขืน ไม่ไป จะต้อง ออกหมายจับ ต่อไปฯ

  ผมเองได้เป็นผู้เปิดประเด็นตรวจสอบฯ
เรื่อง การหลีกเลี่ยงภาษีฯ ของ บ.ฟิลลิปฯ จำนวน 68,000.-ลบ. มาตั้งแต่เดือน มีนาคม
พ.ศ.2554 และพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ และยื่นถอดถอน นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เมื่อปี พ.ศ.2554  จึงขอตั้งข้อสังเกต ว่า

1.การทำหน้าที่ของอัยการ
ในวันนี้ มีอุปสรรค มีปัญหาฯ ขาดความเป็นอิสระในการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
เพราะในขณะที่จะนำตัวผู้ต้องหา มาสู่ศาลฯ ปรากฎข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.
2558 ที่ทำเนียบรัฐบาล มีบุคคล ระดับ รองนายกรัฐมนตรี คือ นายวิษณุ เครืองาม

ได้เรียกกรมสอบสวนคดีพิเศษ
, สำนักงานอัยการสูงสุด, กรมสรรพสามิต, กรมศุลกากร , กระทรวงการคลัง,
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, กรมบัญชีกลาง

  มีการอ้างว่าที่นัดประชุมเพราะบริษัทฯ
ร้องขอความเป็นธรรมต่อ นายกรัฐมนตรี , กรณี กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินคดีอาญา กับ
บริษัท ฟิลลิปฯ แต่ในที่ประชุมฝ่ายอัยการยืนยันว่าการทำหน้าที่ของอัยการ เป็นการใช้อำนาจฯ
ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145
ที่ได้ผ่านการสอบสวนแล้วและมีที่รับฟังได้ว่ามีการกระทำความผิดจริง
จึงมีคำสั่งฟ้องฯ และในการฟ้องก็มีพยานหลักฐานสำคัญและเพียงพอว่าดำเนินคดีฯ ได้ /
ไม่เกี่ยวข้องกับ
WTO

  แต่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า รอง นรม.วิษณุฯ
กลับไม่ฟังคำชี้แจงของฝ่ายอัยการ กลับยกประเด็นเป็นข้อหารือว่า / เนื่องจาก
อสส.มีคำสั่งให้ส่งสำนวนพร้อมตัวผู้ต้องหา ฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อ 15 มิ.ย. 2558
ที่ผ่านมา แต่มีการผัดผ่อนเลื่อนนัดหมาย / ปัญหาสำคัญที่ นายวิษณุฯ หยิบยก
คือการชะลอการส่งฟ้องผู้ต้องหาฯ ในที่สุดมี มติฯที่ ประชุมฯ ดังนี้

  เรื่องสั่งการมอบหมาย รวม 3.-ข้อ

1.ให้กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิต กรมบัญชีกลาง
หารือร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปการแก้ปัญหาการขอคืนเงินประกันของบริษัทฯ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2.มอบหมายให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดำเนินการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าของบริษัทฯ ที่นำเข้าจากฟิลลิปปินส์
และอินโดนีเซีย ว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ได้ยื่นฟ้องต่อ
WTO และศาลภาษีอากรกลาง หรือไม่
โดยให้กรมศุลกากร ส่งข้อมูลเอกสารใบขนสินค้าขาเข้าที่กรมศุลกากรสั่งวางประกันนำเข้าจากฟิลลิปปินส์
จำนวน 118 ฉบับ และนำเข้าจากอินโดนีเซีย จำนวน 210 ฉบับ ให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ภายในวันที่ 12 มิ.ย. 2558 และให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จพร้อมรายงานผลเสนอ รองฯวิษณุ ภายในวันที่ 22
มิ.ย.2558

  วิเคราะห์ฯ ข้อ 1 และ ข้อ 2, เหมือน นายวิษณุฯ
สั่งการให้ไปทำการสอบสวนใหม่เลย / นายวิษณุฯ ใช้อำนาจอะไร? สั่งให้กรมฯ
เหล่านี้ไปสอบสวนใหม่ / ทั้งที่การสอบสวนเสร็จสิ้น แล้ว

3.ตามที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ
หารือถึงเหตุจำเป็นที่ต้องดำเนินการส่งสำนวนพร้อมตัว

ผู้ต้องหาฟ้องคดีนั้น กรณีนี้สำนักงานนายกรัฐมนตรี
(โดยรองวิษณุฯ) จะมีหนังสือแจ้งให้สำนักงานอัยการสูงสุดได้ทราบถึงเหตุผล
และข้อมูลเพิ่มเติม
ก่อนวันที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษนัดผู้ต้องหามารายงานตัวเพื่อจะส่งฟ้องคดีฯ

  –วิเคราะห์ ข้อ 3 เป็นเรื่องฯ
ที่อัยการฯ นัดผู้ต้องหา เพื่อที่จะส่งฟ้องคดีฯ นายวิษณุฯ
กลับแจ้งกับพนักงานอัยการว่า “จะทำหนังสือของสำนักงานนายกรัฐมนตรี” เพื่อให้ อสส.
ได้ทราบถึงเหตุผลและข้อมูลเพิ่มเติม คำถาม
?

 1.อำนาจฝ่ายบริหารฯ
ไปก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้อย่างไร
?/ อัยการฯ เขาแจ้งอย่างชัดเจน
ว่าทำตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา-145 / นายวิษณุฯ ไปพูดเรื่องการชะลอการส่งฟ้องในลักษณะชี้นำ
และนอกจากนี้การที่ นายวิษณุฯ จะทำหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ประสงค์จะให้ อสส.
ทำอะไร? / ในเมื่อ อสส.มีคำสั่งเด็ดขาดฟ้องคดีฯ ไปแล้ว / เรื่องฯนี้ จะต้องได้รับความกระจ่าง
เพราะนายวิษณุฯ อ้างว่าที่ทำไปเพราะ ท่านนายกรัฐมนตรี มอบหมายฯ / จุดประสงค์ คือ
ให้ อสส.สั่งไม่ฟ้องคดี บ.ฟิลลิปฯ ใช่หรือไม่? และนายวิษณุฯ ใช้อำนาจตามกฎหมายใด?
เข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ของอัยการ ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.145

  2.ผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ที่เสียหายไป จำนวน 68,000.-ลบ. ทันที ถ้าอัยการไม่ฟ้องคดีฯนี้ ต่อ / เพราะคดีฯนี้
เป็นเรื่องที่ บ.ฟิลลิปฯ สำแดงเท็จ ในการนำเข้าบุหรี่ฯ ผิดกฎหมาย ภายในประเทศ คือ
กฎหมายสรรสามิต , ศุลการกร และ กฎมายสรรพากร / ไม่ได้เกี่ยวอะไร?เลย กับ เรื่อง
WTO ที่นายวิษณุฯ กำลังอ้างถึง

  3.บุหรี่ เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพของประชาชน และทำลายอนาคตของเยาวชนไทย
และในแต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด จากการสูบบุหรี่ และโรคอื่นๆ อีกมากมาย /
ต้องใช้เงินรักษาพยาบาลอีกมากมาย

  ผมเป็นคนหนึ่งที่รับฟังมาตลอด ว่า
รัฐบาลนี้มีความจริงจังในการปราบปรามการทุจริต หรือการทำผิดกฎหมาย
และท่านนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำอยู่เสมอ ว่า ผู้ใดการกระทำผิดกฎหมาย ก็ให้มาเข้าสู่ “กระบวนการยุติธรรม”
และต่อสู้คดีฯ ไป แต่กรณี บ.ฟิลลิปฯ มูลค่าความเสียหายถึง 68,000.-ลบ. เมื่อ อสส.
ยืนยันจะทำคดีฯนี้ ตามกระบวนการยุติธรรม แล้ว / ทำไม? นายวิษณุฯ
ถึงยังเข้ามาก้าวล่วงฯอีก / แทนที่ จะได้รีบ นำเงินจำนวน 68,000.-ลบ. มาเสียภาษี
ให้รัฐบาล เพื่อจะได้นำเงินภาษี ไปช่วยชาวนา แถวบ้านฯ ผมทางภาคอีสาน เพราะขณะนี้
กำลังเกี่ยวข้าวหอมมะลิใหม่ ราคาตกต่ำเหลือเพียงเกวียนละ 9,000.-บาท

  “ผมขอท้า นายวิษณุฯ เลยว่า”
 ถ้าหากว่า นายวิษณุฯ
เห็นว่ามีประโยชน์อย่างอื่น ที่เหนือกว่าเงินภาษี 68,000.-ลบ.
และสุขภาพของประชาชนและเยาวชนไทย / เมื่อนายวิษณุฯ อ้างว่าได้รับมอบหมาย จากนายกรัฐมนตรี
แล้ว / ผมขอให้ นายวิษณุฯ เสนอให้ ท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะ หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจ
ตาม มาตรา-44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว / คือ ออก ม.44 มาเลย
เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ