เล่าเรื่องผู้นำสตรี : เฮลเลอร์ ทอร์นนิ่ง ชมิดท์ นายกรัฐมนตรีหญิงแห่งเดนมาร์ก

“ลงมือทำอย่างรอบคอบและหลีกเลี่ยงความผิดพลาด
วันนี้เราจะร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ของเดนมาร์ก”
ถ้อยแถลงส่วนหนึ่งของเฮลเลอร์
ทอร์นนิ่ง ชมิดท์ ที่กล่าวกับผู้สนับสนุนของเธอเมื่อเธอชนะการเลือกตั้ง ทอร์นนิ่ง
ชมิดท์เป็นผู้นำพันธมิตรสี่พรรคที่ชนะการเลือกตั้งซึ่งได้จำนวน ส.ส.ถึง 89
ที่นั่งจากทั้งหมด 179 ที่นั่งในสภา
 ถือเป็นการยุติการครองอำนาจอย่างยาวนานของฝ่ายขวาในเดนมาร์ก

เฮลเลอร์ ทอร์นนิ่ง ชมิดท์
เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1966 จบการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในโคเปนเฮเกน
และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยยูโรเปียนที่เมืองบรูกส์ นอกจากนี้เธอยังเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับสหภาพการค้าของสมาพันธ์เดนมาร์กอยู่ในช่วงหนึ่ง

หลังจากรับตำแหน่งสมาชิกสภายูโรเปียนครบหนึ่งสมัยในระหว่างปี
ค.ศ. 1999-2004  เธอได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้นำพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในปี
ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตามการลงเลือกตั้งครั้งแรกของเธอประสบความล้มเหลว
เฮลเลอร์ ทอร์นนิ่ง พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งความพ่ายแพ้นี้ทำให้เธอใคร่ครวญถึงความผิดพลาดและได้ข้อสรุปว่า “ยังต้องใช้เวลาอีกมาก
ก่อนที่จะทำให้พวกเขาหันมายอมรับและร่วมมือกับเรา”

ในการเลือกตั้งทั่วไปของเดนมาร์ก ปี
ค.ศ. 2011 เฮลเลอร์
ทอร์นนิ่งรณรงค์หาเสียงผ่านนโยบายการจัดเก็บภาษีให้สูงขึ้นและรณรงค์ให้เดนมาร์กสร้างสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ประชาชน
ซึ่งในขณะนั้นเดนมาร์กกำลังประสบกับความตกต่ำที่เลวร้ายที่สุดนับแต่จบสงครามโลกครั้งที่
2

อย่างไรก็ดีเฮลเลอร์ ทอร์นนิ่งยังคงยืนยันว่า
“เรา (เดนมาร์ก) จะไม่ร่วมขบวนรถในมาตรการรัดเข็มขัดเหมือนประเทศอื่นๆในยุโรป”
และเธอยืนยันว่าจะปกป้องระบบรัฐสวัสดิการของเดนมาร์กเอาไว้

เฮลเลอร์ ทอร์นนิ่งนำเสนอนโยบายที่ให้คนงานทุกคนทำงานเพิ่มขึ้น
12 นาทีต่อวัน
ที่จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนต่อรายสัปดาห์  ซึ่งพรรคของเธอระบุว่าการทำงานเพิ่มขึ้นตามนโยบายนี้จะผลักดันให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์รวมทั้งลาร์ค
โลค ราสมุสเซน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเดนมาร์กในขณะนั้น กลับมองข้ามนโยบายนี้และกล่าวว่า
“เวลา 12 นาทีนั้นนับเป็นเงินที่มีค่ามากกว่าเงินจริงที่เวลา 12
นาทีนั้นจะสร้างได้”
ปัญหาแรงงานข้ามชาติยังเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เฮลเลอร์ ทอร์นนิ่งผลักดัน
โดยที่เธอเสนอนโยบายด้านมนุษยธรรมเพื่อเปลี่ยนกฏระเบียบอันเข้มงวดของรัฐบาลเดนมาร์กและพันธมิตรฝ่ายขวาของพรรคประชาชนเดนมาร์ก
(Danish People’s Party – DPP)

นักวิเคราะห์มองว่าความเป็นหญิงของเฮลเลอร์
ทอร์นนิ่ง ชมิดท์ สร้างอะไรบางอย่างขึ้นในระหว่างการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ดีเธอไม่ได้คาดหวังว่าภาพลักษณ์ของเธอจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอะไรนักในประเทศที่มีกฏหมายความเท่าเทียมที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว

ในการให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เมื่อไม่นานมานี้
เฮลเลอร์
ทอร์นนิ่งกล่าวว่าการชนะการเลือกตั้งนั้นไม่มีผลอะไรมากไปกว่าการให้แรงบันดาลใจแก่เด็กหญิงว่า
“เธอก็สามารถคาดหวังและทำอะไรบางอย่างได้” อย่างไรก็ดีนักหนังสือพิมพ์ระบุว่าชัยชนะในสนามเลือกตั้งของเฮลเลอร์
ทอร์นนิ่งนั้น เป็น “ชัยชนะของผู้หญิง” ซึ่งควรจะถูกบันทึกว่าเป็น
“ขั้นตอนสำคัญในการก้าวไปสู่สังคมที่เท่าเทียมทางเพศ
ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยเลยในเชิงสัญลักษณ์”

แม้ว่าเพศหรือความเป็นหญิงของเธอนั้นอาจจะไม่ได้มีอิทธิพลอย่างมหาศาลในการรณรงค์หาเสียงนัก
แต่สไตลลิสต์ส่วนตัวของเธอก็เลือกที่จะสร้างภาพลักษณ์ของเฮลเลอร์ผ่านเครื่องแต่งกายที่มีธีม
“Come under fire” ที่ผิดจากวัฒนธรรมภาพลักษณ์ของผู้นำพรรคแรงงานคนก่อนๆ
ทำให้เธอมีฉายาหรือชื่อเล่นว่า “กุชชี่ เฮลเลอร์” (Gucci Helle)

หนึ่งวันหลังการเลือกตั้ง
หนังสือพิมพ์ Politiken ของเดนมาร์กกล่าวว่าเฮลเลอร์ชนะการเลือกตั้งแม้ว่าเธอจะแต่งตัวดีเกินไปสำหรับหัวหน้าพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย
และยังใหม่เกินไปสำหรับการเป็นผู้นำประเทศ
และเป็นเรื่องที่ดีเยี่ยมที่สุดที่เธอชนะใจประชาชน การวิจารณ์ที่คล้ายกันนี้ยังคงมีออกมาจากสมาชิกพรรคของเธอด้วย
ซึ่งเธอได้ตอบโต้ข้อวิจารณ์ดังกล่าวในที่ประชุมพรรคว่า
“เราไม่อาจจะทำตัวให้ดูเหมือนสิ่งโสโครกได้” (we can’t all look like shit)

เฮลเลอร์ ทอร์นนิ่ง ชมิดท์
ได้พบกับสามีของเธอ สตีเฟนด์ คินน็อค ขณะที่เธอกำลังเรียนอยู่ที่เบลเยียม
สตีเฟนด์เป็นบุตรชายของนีลและกรีนิส คินน็อค นักการเมืองจากพรรคแรงงานของอังกฤษ
ซึ่งปัจจุบันเขาทำงานเป็นผู้อำนวยการของ World Economic
Forum (WEF) โดยทั้งคู่แต่งงานในปี ค.ศ. 1996 และมีลูกสาวด้วยกันสองคน

แปลและเรียบเรียงจาก

http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-14944749